วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบอวัยวะ

ระบบอวัยวะร่างกายของมนุษย์






ลักษณะทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเป็นมนุษย์ คือ ลักษณะทางกายและชีวภาพ ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อน โดยเริ่มจากระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ โครงสร้างทุกระดับรวมกันเรียกว่าระบบอวัยวะ ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายล้วนเป็นเรื่องน่าพิศวง โดยธรรมชาติได้มีการจัดระบบต่างๆขึ้นอย่างมีระเบียบ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ มีการทำงานประสานกันอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อรู้วิธีดูแลรักษาให้ดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆเหล่านั้นให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างสูงแก่ชีวิตของเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  

                                                                                                                                                                  

 1 การจัดระบบของร่างกายร่างกายของคนเรา ประกอบด้วยส่วนเล็กที่สุด คือ อะตอม ยึดกันเป็นโมเลกุล และโมเลกุลมีการจัดโครงสร้างเรียกว่าเซลล์ (Cell) เซลล์เหล่านี้ประกอบขึ้นจากการรวมของแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งมักมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รูปร่างแตกต่างกัน รูปทรงของเซลล์จะเหมาะกับลักษณะของงานที่ทำ เช่น เซลล์ประสาทมีแขนงมากมายซึ่งจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเซลล์ เซลล์ชนิดเดียวกันเมื่อรวมกันเข้าเป็นกลุ่มและทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เราเรียกว่าเนื้อเยื่อ (Tissue) และเนื้อเยื่อต่างๆยังประกอบกันเข้าเป็นกล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆได้อีกมากมาย





1.2 การทำคุณสมบัติที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตคือการเคลื่อนไหว ดังนั้น ร่างกายของคนเรา จะต้องมีอำนาจหรือพลังอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถทำหใเกิดการเคลื่อนไหว พลังงานหรือกำลังงานนี้ร่างกายได้มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ภายในร่างกายของคนเรานั้นย่อมมีการเคลื่อนไหวหรือมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่อยู่เฉยๆ ปอดก็จะต้องทำหน้าที่หายใจ และหัวใจก็จะต้องทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต หรือเมื่อเวลาคนเรารับประทานอาหารเข้าไปนั้นการย่อยก็คือการเคลื่อนไหวหรือการทำงานเช่นเดียวกัน พลังงานทั้งหลายเหล่านี้ เซลล์ต่างๆทำหน้าที่เป็นผู้จัดการผลิตและขนส่งไปให้ได้ใช้กันทั่งร่างกาย งานของร่างกาย

ระบบอวัยวะของร่างกายมนุษย์


ลักษณะทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเป็นมนุษย์ คือ ลักษณะทางกายและชีวภาพ ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อน โดยเริ่มจากระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ โครงสร้างทุกระดับรวมกันเรียกว่าระบบอวัยวะ ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายล้วนเป็นเรื่องน่าพิศวง โดยธรรมชาติได้มีการจัดระบบต่างๆขึ้นอย่างมีระเบียบ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ มีการทำงานประสานกันอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อรู้วิธีดูแลรักษาให้ดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆเหล่านั้นให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างสูงแก่ชีวิตของเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้




1.1 การจัดระบบของร่างกาย
ร่างกายของคนเรา ประกอบด้วยส่วนเล็กที่สุด คือ อะตอม ยึดกันเป็นโมเลกุล และโมเลกุลมีการจัดโครงสร้างเรียกว่าเซลล์ (Cell) เซลล์เหล่านี้ประกอบขึ้นจากการรวมของแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งมักมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รูปร่างแตกต่างกัน รูปทรงของเซลล์จะเหมาะกับลักษณะของงานที่ทำ เช่น เซลล์ประสาทมีแขนงมากมายซึ่งจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเซลล์ เซลล์ชนิดเดียวกันเมื่อรวมกันเข้าเป็นกลุ่มและทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เราเรียกว่าเนื้อเยื่อ (Tissue) และเนื้อเยื่อต่างๆยังประกอบกันเข้าเป็นกล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆได้อีกมากมาย




1.2 การทำงานของร่างกาย
คุณสมบัติที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตคือการเคลื่อนไหว ดังนั้น ร่างกายของคนเรา จะต้องมีอำนาจหรือพลังอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถทำหใเกิดการเคลื่อนไหว พลังงานหรือกำลังงานนี้ร่างกายได้มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ภายในร่างกายของคนเรานั้นย่อมมีการเคลื่อนไหวหรือมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่อยู่เฉยๆ ปอดก็จะต้องทำหน้าที่หายใจ และหัวใจก็จะต้องทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต หรือเมื่อเวลาคนเรารับประทานอาหารเข้าไปนั้นการย่อยก็คือการเคลื่อนไหวหรือการทำงานเช่นเดียวกัน พลังงานทั้งหลายเหล่านี้ เซลล์ต่างๆทำหน้าที่เป็นผู้จัดการผลิตและขนส่งไปให้ได้ใช้กันทั่งร่างกาย
เราทราบกันแล้วว่า พลังงาน คือ ความสามารถในการทำงาน ( พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีน้ำหนักและมองไม่เห็น เราจะทราบว่าสิ่งใดมีพลังงานเท่าไร่นั้นหาได้จากผลงานสิ่งนั้นทำ ) ร่างกายของคนเราทุกคนจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อเคลื่อไหวหรือทำงานหรืออย่างน้อยก็เพื่อการที่จะดำรงชีวิตอยู่ เช่น ในการหายใจของปอดหรือการเต้นของหัวใจดังได้กล่าวมาแล้วเป็นต้น พลังงานต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายได้รับมาจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์ของร่างกายโดยตลอดเวลา การเผาผลาญอาหารภายในเซลล์เหล่านี้ แม้จะไม่เป็นไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับการเผาไหม้เศษกระดาษ แต่ก็จัดว่าเป็นการเผาผลาญได้ ทุกๆเซลล์ของร่างกายจึงเปรียบเสมือนเตาไฟเล็กๆ ซึ่งเผาไหม้อาหารเพื่อความต้องการหลายอย่าง และความต้องการที่สำคัญอันหนึ่งก็คือความร้อน (Heat) ความร้อนนับได้ว่าต้องการใช้พลังงานหลายๆอย่างเพื่อให้เหมาะสมแก่การทำงานแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภท เช่น ร่างกายของเราต้องการพลังงานบางอย่างเพื่อใช้รวมวัตถุหรือแร่ธาตุซึ่งจะช่วยทำให้เซลล์เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเซลล์ให้มีมากขึ้นต่อไปอีก หรือร่างกายของเราต้องการพลังงานบางอย่างเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นได้อยู่ตลอดเวลา




1.3 วิธีการที่เซลล์ได้รับอาหาร
เมื่อคนเรารับประทานอาหารเข้าไปแล้ว อวัยวะสำหรับย่อยจะทำการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กลงจนในที่สุดเป็นอณู (Molecule) และหลังจากนั้นเลือดก็จะพาอณูของอาหารเหล่านี้ไปให้เซลล์ต่างๆ จนทั่งร่างกาย เนื่องจากอณูของอาหารมีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา อณูของอาหารจะเคลื่อนตัวเร็วขึ้นตามอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น ( เช่นเดียวกันกับเมื่อเวลาที่เราต้มน้ำ ความร้อนจะทำให้อณูของน้ำเคลื่อนไหวไปมา แล้วก็จะมีฟองปุดๆขึ้นมา และอณูของน้ำจำนวนมากมายจะกลายเป็นไอน้ำลอยหนีขึ้นไปสู่อากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่อณูของน้ำแทรกเข้าไปในอากาศ ) อณูของอาหารประเภทต่างๆที่เลือดพาไปจะเคลื่อนที่ชนกันไปชนกันมาครั้นแล้วอณูของอาหารก็จะเคลื่อนตัวออกจากเส้นเลือดฝอยและแทรกตัวเข้าสู่เซลล์ของร่างกายที่อยู่ใกล้เคียง การที่อณูของอาหารถูกผลักดันแทรกผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยและผนังของเซลล์เข้าไปได้ ก็เพราะว่าทั้งผนังของเส้นเลือดฝอยและผนังเซลล์นั้นประกอบด้วยอณูซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางมากเรียงรายกันอยู่ทุกอณูของผนังจะเปิดช่องเพียงแค่พอให้อณูของอาหารกระจายและแทรกผ่านเข้าไปในเซลล์ได้นี้เรียกว่า Diffusion และโดยวิธีการเดียวกันนี้เองก็จะทำให้อณูของน้ำและอณูของก๊าซอ็อกซิเจนผ่านเข้าไปในเซลล์ รวมทั้งอณูของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอณูของเสียอื่นๆผ่านออกมาจากเซลล์




1.4 ระบบอวัยวะของร่างกาย
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโครงสร้างที่สลับซับซ้อน โดยโครงสร้างต่างๆจะมีหน้าที่ของตนเอง และในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่นๆด้วย สามารถจำแนกโครงสร้างต่างๆภายในร่างกายเป็นระบบอวัยวะ ดังนี้
1. ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
2. ระบบกระดูก (Skeletal system)
3. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
4. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
5. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system)
6. ระบบหายใจ ( Respiratory system)
7. ระบบไหลเวียนโลหิต ( Vascular system)
8. ระบบประสาท (Nervous system)
9. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
10. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)









1. ระบบผิวหนัง

ผิวหนังทำหน้าที่ปกคลุมห่อหุ้มร่างกาย รับความรู้สึกการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด หรือความรู้สึกร้อนเย็น ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และทำหน้าที่เป็นอวัยวะขับถ่าย คือ ขับเหงื่อและไขมันด้วย
ผิวหนังมีสองส่วน คือ หนังกำพร้า และหนังแท้ คนมีสีผิวต่างกันเพราะมีจำนวนเม็ดสีเมลานินในหนังกำพร้าไม่เท่ากัน ถ้ามีมากผิวสีดำ ถ้ามีน้อยผิวสีขาว สีของเลือด ความหนาของผิวหนังก็มีส่วนกำหนดสีผิวด้วย เล็บ ขน ผม เป็นส่วนที่เจริญเปลี่ยนแลง ไปจากผิวหนัง ส่วนประกอบอื่นๆของผิวหนังที่เราต้องศึกษาด้วยก็คือ กล้ามเนื้อขนลุก ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และเหงื่อ









2. ระบบกระดูก


กระดูกเป็สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยเซลล์ เส้นใยพังผืด และเกลือแร่ ซึ่งทำให้กระดูกมีทั้งความแข็งแรงและความยื ดหยุ่น ถ้าเป็ยนกระดูกอ่อนจะยืดหยุ่นมากกว่าเพราะไม่มีเกลือแร่ ไม่ว่ากระดูกหรือกระดูกอ่อนต่างก็ทำหน้าที่ให้ร่างกาย แขน ขา คงรูปอยู่ได้



3. ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อทำให้ส่วนของร่างกายเคลื่อนไหวได้โดยการหดตัว แบ่งเป็นกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อเรียบหรือกล้ามเนื้อนอกจิตใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ







4. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)





อวัยวะต่างๆในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปาก ต่อมน้ำลาย คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ช่อง ทวารหนัก ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน



5. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system)




อวัยวะที่อยู่ในระบบนี้ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ





6. ระบบหายใจ ( Respiratory system)




งานสำคัญของระบบหายใจคือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนในอากาศ ที่หายใจเข้าไปกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ในการศึกษาระบบหายใจ จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นทางผ่านของลมหายใจ ได้แก่ จมูก ปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ หลอดลมย่อยและแขนง และส่วนที่ทำหน้าที่หายใจ คือ ถุงลม
7. ระบบไหลเวียนโลหิต ( Vascular system)


อวัยวะสำคัญของระบบเลือดไหลเวียน ได้แก่ หัวใจ หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ
8. ระบบประสาท (Nervous system)




 


ทำหน้าที่ควบคุม และประสานการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย อวัยวะสำคัญของระบบประสาทได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ





9. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
ในการศึกษาระบบสืบพันธุ์ของชาย จะต้องศึกษาถึงอัณฑะ ท่ออัณฑะ ต่อมเซนัลเวสิเคิล ท่อฉีดอสุจิ และต่อมลูกหมาก ถ้าเป็นระบบสืบพันธุ์ของหญิง จะต้องศึกษาถึง รังไข่ ท่อมดลูก มดลูก ช่องคลอด อวัยวะสืบพันธุ์ภ